ปัญหาสังคม

ปัญหาสังคมในประเทศไทย

สังคมผู้สูงอายุ

  • ในปี 2565 ประเทศไทยมีผู้สูงอายุจำนวน 12,519,926 คน
  • คิดเป็น 18.94% ของประชากรทั้งประเทศ (66,090,475 คน)
  • เป็นผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียง 174,409 คน หรือ คิดเป็น 1.3% ของจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด (นับเฉพาะผู้ที่เข้าระบบ)


ที่มา : ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร สถิติประชากร รายจังหวัด กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย

ในปี 2574 ประเทศไทยจะก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด (Super-Aged Society) จะมีผู้สูงอายุ เพิ่มขึ้น 28.87% เป็น 18,000,000 คน โดยเป็นประชาชนที่อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ

และคาดว่าจะมีผู้ป่วยติดเตียงเพิ่มขึ้นเป็น 234,000 คน (ไม่รวมผู้ป่วยนอกระบบ)


ที่มา : มูลนิธิเส้นด้าย

ปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคม

เมื่อโครงสร้างของประชากรเปลี่ยนไปมีสัดส่วนผู้สูงอายุมากขึ้น ผู้ที่อยู่ในวัยทำงานจะต้องทำงานมากขึ้นและต้องรับภาระดูแลผู้สูงอายุในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น บางครั้งอาจทำให้ผู้สูงอายุขาดความอบอุ่นหรืออาจถูกทอดทิ้งได้


เศรษฐกิจในประเทศจะไม่โต ปัญหาแรงงานหนักขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป มีการประเมินไว้ว่า ครอบครัวที่มี ผู้สูงอายุต้องประหยัดเงินมากขึ้น มีการใช้จ่ายที่ตํ่ากว่าปกติประมาณ 30% ซึ่งจะทำให้กำลังซื้อในอนาคตหดหายเป็นอย่างมาก


ทางการคลังจะมีงบประมาณรายจ่ายเพิ่มขึ้น ภาครัฐจำเป็นต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายทางด้านสาธารณสุข การแพทย์ บริการสังคมแก่ผู้สูงอายุมากขึ้นและต้องเพิ่มงบประมาณรายจ่ายเพื่อสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ยากไร้ และการเก็บภาษีรายได้น้อยลงเนื่องจากมีวัยผู้สูงอายุซึ่งไม่มีรายได้มีสัดส่วนที่มากขึ้น


ที่มา : กรมกิจการผู้สูงอายุ

ค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงแผลกดทับ เฉลี่ย 5,840 7,340 บาท ต่อ 1 คน ต่อ 1 เดือน

*เฉพาะแผลกดทับไม่รวมการรักษาด้วยโรคแทรกซ้อนอื่นๆ และ ไม่รวมค่าผู้ดูแล ประมาณ 15,000-20,000 บาท


- ค่าเวชภัณฑ์

- ค่าทำแผล 800 1,600 บาท ต่อ 1 ครั้ง

- ค่าเดินทาง 300 1,000 บาท ต่อ 1 ครั้ง

รวมค่าใช้จ่ายผู้ป่วยแผลกดทับ โดยเฉลี่ยทั้งประเทศ

1,280,162,060 บาท ต่อปี (เฉพาะในระบบ) และจะเพิ่มขึ้นปีละ 5-8%

ที่มา : กรมกิจการผู้สูงอายุ

ปัญหาบุคลากรทางการแพทย์


ในปี 2565 มีแพทย์ทั้งประเทศไทยประมาณ 50,000 คน - 60,000 คน

โดย มีแพทย์ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 24,649 คน เฉลี่ยร้อยละ 48 ซึ่งสัดส่วนแพทย์ในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข ต่อประชากร แพทย์ 1 คน ดูแลประชากร 2,000 คน ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้กำหนดสัดส่วนแพทย์ในการดูแลประชากร อยู่ที่ 1 ต่อ 1,000 คน


จากสถิติปี 2561 ถึง ปัจจุบัน จะพบว่าแพทย์จบใหม่เฉลี่ยปีละประมาณ 3,000 คน โดยในปี 2566 มีแพทย์จบใหม่ 2,759 คน ซึ่งในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงกลาโหมมีแพทย์ที่จบใหม่อยู่ประมาณ 1900 คน ซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการ


ผลการสำรวจระหว่างวันที่ 15-30 พฤศจิกายน 2565 ในประเทศไทย

มีโรงพยาบาลที่ปฏิบัติงานนอกเวลา เกิน 40 ชั่วโมง ต่อ สัปดาห์ จำนวน 65 แห่ง


  • เวลาทำงาน 64 ชั่วโมง จำนวน 9 แห่ง
  • ทำงานกว่า 59 -63 ชั่วโมง จำนวน 4 แห่ง
  • ทำงานกว่า 52 - 58 ชั่วโมง จำนวน 11 แห่ง
  • ทำงานกว่า 46 - 52 ชั่วโมง จำนวน 18 แห่ง
  • ทำงานกว่า 40 - 46 ชั่วโมง จำนวน 23 แห่ง

(มาตรฐานโลก ชั่วโมงการทำงาน จะอยู่ที่ต่ำกว่า 40 ชั่วโมง / สัปดาห์)


ที่มา : สำนักข่าวสปริงนิวส์ และ แพทยสภา

ปัญหาการเข้าถึงการรักษา


- ปัญหาการเข้าถึงบริการสาธารณสุขส่วนบุคคล ในกลุ่ม 1. คนยากจน 2. กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล 3. กลุ่มแรงงาน

ปัญหาเชิงระบบ ที่ไม่ครอบคลุม


- ปัญหาเชิงระบบ ที่ไม่ครอบคลุม

- ปัญหาเชิงโครงสร้าง

โรงพยาบาลที่อยู่ภายใต้กระทรวง สธ. โดยกรมการแพทย์ทั้งหมด 18 แห่ง โรงพยาบาลส่วนภูมิภาค ได้แก่ โรงพยาบาลศูนย์ 34 แห่ง โรงพยาบาลเฉพาะทาง 26 แห่ง โรงพยาบาลทั่วไป 87 แห่ง โรงพยาบาลชุมชน 788 แห่ง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 9,769 แห่ง นอกจากนี้ยังมีโรงพยาบาลที่สังกัดอื่นๆ เช่น สังกัดกระทรวงกลาโหม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย รวมไปถึงโรงพยาบาลเอกชน


อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลเหล่านี้ไม่ได้ถูกจัดสรรให้ครอบคลุมให้ประชาชนเข้าถึงได้อย่างเพียงพอ หรือบางสถานบริการก็ไม่มีศักยภาพด้านต่างๆ เพียงพอต่อการรักษาที่ครอบคลุมทุกด้าน


- ปัญหาการกระจายบุคลากรทางการแพทย์

โดยมีสัดส่วนแพทย์ต่อประชากรอยู่ที่ 1 คนต่อประชากร 630 คน ในขณะที่หากเทียบกับจังหวัดบึงกาฬ สัดส่วนแพทย์ต่อประชากรคือ 1 คนต่อประชากร 5,021 คน



- ปัญหาการส่งต่อผู้ป่วย

ส่วนใหญ่ปัญหาที่พบจากการส่งตัวผู้ป่วย ได้แก่ การส่งต่อผู้ป่วยที่ไม่สามารถข้ามขั้นตอนที่กำหนดไว้ได้ ซึ่งมีความซับซ้อน ล้าช้า การประเมินความเสี่ยงของผู้ป่วยแต่ละคน การสื่อสารและบริการที่ต่อการส่งต่อผู้ป่วยไปรักษา โดยเกิดจากการเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารและระบบหลักประกันสุขภาพที่ไม่ชัดเจน ขาดการเชื่อมโยงกันระหว่างเครือข่ายบริการการรักษา ฯลฯ


เหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยบางส่วนมีภาพจำเกี่ยวกับสถานบริการทางการแพทย์ขนาดเล็กว่ามีศักยภาพเพียงแค่การรักษาโรคทั่วไป จ่ายยาให้สำหรับโรคเรื้อรัง ส่งผลให้ผู้ป่วยเลือกที่จะไปรักษาที่โรงพยาบาลในระดับที่สูงกว่าจนทำให้เกิดความแออัด เช่น โรงพยาบาลศูนย์ขนาดใหญ่ ฯลฯ



- ปัญหาด้านงบประมาณ

โรงพยาบาลในระบบสาธารณสุขจะมีแหล่งที่มาของรายได้หลัก ได้แก่ 1. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) 2.ประกันสังคม 3. กรมบัญชีกลาง 4. กองทุนผู้ประสบภัยจากรถยนต์ และ 5. ค่ารักษาพยาบาลจากผู้ป่วยโดยตรง อย่างไรก็ดีโรงพยาบาลบางแห่งยังพบกับปัญหาด้านงบประมาณไม่เพียงพอ ปัญหาหนี้สินจำนวนมาก ซึ่งเงินที่ได้จากการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลรายหัวที่นำมาใช้ไม่ใช่สำหรับค่ารักษาพยาบาลเพียงอย่างเดียว แต่มีเงินเดือนบุคลากรทางการแพทย์และการบริหารจัดการ


ที่มา : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

เราอยากเป็นส่วนหนึ่ง ในการช่วยเหลือสังคม

ผ่านโครงการ ขอให้หายดี

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ